กระบวนการผลิตปลาป่น


แชร์ให้เพื่อน :

ปลาป่น คืออาหารหลักในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับสัตว์ แถมยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารสัตว์ต่างๆ
กระบวนการผลิตปลาป่นจะเริ่มจากการเลือกสรรปลาสดจากเรือประมง 

ปลาและกระดูกปลาสดจากห้องเย็น รวมทั้ง จากโรงงานปลากระป๋องต่าง ๆ โดยปลาป่นที่มีโปรตีนสูงนั้น จะผลิตจากปลาทั้งตัว เช่นพวกปลาเป็ด เศษปลาเล็กปลาน้อยเช่น ปลากระตัก ปลาแป้น ปลาวัว ปลาหลังเหลือง ปลาซิว ปลาทูเล็ก ปลาหลังเขียว ปลาทูแขก เป็นต้น ส่วนปลาป่นที่มีระดับโปรตีนต่ำลงมา อาจจะผลิตจากปลาตัวเล็ก ปลาแล่ ปลาและกระดูกปลาสดจากโรงงานห้องเย็น และจากโรงงานปลากระป๋อง

เช่น ปลาทรายแดง ปลาตาโต ปลาจวด ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า เป็นต้น

จากนั้นจะนำวัตถุดิบสด มาผ่านการต้ม บีบ และอบแห้ง คัดแยกโลหะและสิ่งปลอมปน บดละเอียด ก่อนบรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ

 

ปลาซาดีน

       

ปลาป่นที่ผ่านกระบวกการผลิตตามขั้นตอน จะมีลักษณะดังนี้  
มีสีน้ำตาลออกเหลือง สีน้ำตาลเข้ม สีออกเทา หรือสีที่เป็นไปตามธรรมชาติของวัตถุดิบ สีที่แตกต่างกันนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดปลา ความสด และกระบวกการผลิต และมีกลิ่นหอมคาวปลาเหมือนปลาแห้งป่น หรือกลิ่นเหม็นออกเค็ม

 

ลักษณะปลาป่นที่ดี

– มีสีน้ำตาลเหลือง สี้น้ำตาลเข้ม สีเทา หรือสีที่เป็นไปตามธรรมชาติของวัตถุดิบ
– สะอาด  ไม่เน่า  ไม่มีหนอนและแมลงทุกชนิด
– ไม่มีสิ่งปลอมปน ทั้งทางกายภาพและเคมี
– เนื้อปลาป่นต้องมีความละเอียดไม่พบกระดูกปลาชิ้นใหญ่  เพื่อความสะดวกในการนำไปใชั และช่วยให้สัตว์ย่อยได้ง่าย ทำให้สามารถนำสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
– ปลาป่นแห้ง  (ความชื้นไม่เกิน  10%)
– มี  NaCl ได้ประมาณ  3%  แต่ไม่เกิน  7%
– มีน้ำมันน้อย เพราะถ้ามากจะทำให้หืนเร็ว  ทำให้เนื้อมีกลิ่น
– ปราศจากเชื้อ Salmonello spp. เพราะถ้าหากสัตว์ได้รับเชื้อนี้จะทำให้ท้องเสียรุนแรงและตายได้

 

การเก็บรักษาปลาป่น
หลีกเลี่ยงความชื้น แสงแดด ไม่ควรเก็บปลาป่นในที่อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเชียล เพราะจะเกิดการหืน ทำให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ และอาจเกิดการเผาไหม้ได้
อาจคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันแมลงและสัตว์กัดแทะต่างๆ

 

 

การเก็บรักษาปลาป่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.gmwebsite.com/upload/siamproteins.co.th/file/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%99.pdf

 

อ้างอิงที่มา
– สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์ เรียบเรียงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539
– กรมปศุสัตว์ / www.dld.go.th/nutrition/exhibition/feed_stuff/nutrition.htm
– natres.psu.ac.th/Department/AnimalScience/515-353/…/fish_meal.pps

แชร์ให้เพื่อน :