
อาหารสัตว์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากใน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นหมูป่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพดบด เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ได้สูตรอาหารที่มีคุณภาพดี มีความสมดุลของสารอาหารตามต้องการของสัตว์ แต่ราคาเหมาะสม ควรพิจารณาปัจจัย ดังนี้
1. แหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบควรหาได้ง่ายและมีปริมาณมากในท้องที่ วัตถุดิบที่เลือกควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น และมีใช้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอาหารหลักซึ่งได้แก่ อาหารที่เป็นแหล่งพลังงานจำเป็นต้องใช้ เป็นปริมาณมากในสูตรอาหารแต่บางครั้งการคมนาคมที่สะดวกก็ทำให้สามารถเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ นอกท้องที่ได้ง่ายและราคาไม่สูงก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย
2. ราคา วัตถุดิบควรมีราคาถูกแต่คุณภาพดี อาหารสัตว์บางชนิดราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต ราคาอาจถูกในบางฤดูกาล เช่น ข้าวโพดในช่วงปลายฝน และรำกับปลายข้าวจะมีราคาถูกในช่วง ปลายหนาว
3. สารปนเปื้อน วัตถุดิบควรปราศจากสารพิษหรือสารปนเปื้อนวัตถุดิบที่มีสารพิษย่อมมีผลต่อการผลิตของสัตว์ ดังนั้น ก่อนนำวัตถุดิบที่มีสารพิษมาใช้ ควรกำจัดหรือลดระดับสารพิษให้น้อยลง จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแก่สัตว์เสียก่อน ส่วนการปนเปื้อนมักเกิดจากวิธีการเก็บรักษา
4. ลักษณะกายภาพ วัตถุดิบควรมีลักษณะทางกายภาพที่ดีเพื่อให้สัตว์ชอบกินและสามารถกินอาหารนั้นได้ตามความต้องการ ลักษณะทางกายภาพที่ควรพิจารณา ได้แก่
4.1 ความเหนียว วัตถุดิบที่มีลักษณะเหนียวจะทำให้ได้อาหารผสมมีลักษณะเหนียวไปด้วย อาหารนั้นจะมีความไม่น่ากินและกินยาก เช่น ปลายข้าวเหนียว เมื่อสัตว์ปีกกินอาหาร ที่เหนียวจะติดหรือตกค้างอยู่ในส่วนของจงอยปากและลิ้น อาจสะสมทำให้เกิดการติดเชื้อหรือ เน่าเปื่อยในส่วนของอวัยวะดังกล่าว สัตว์ไม่ชอบรสชาดของอาหารที่มีลักษณะเหนียว ทำให้สัตว์ กินได้น้อย
4.2 ขนาดชิ้นส่วนอาหาร วัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ประกอบสูตรอาหารควรมีการเตรียมให้มีขนาดชิ้นส่วนที่เหมาะสมกับชนิด และอายุของสัตว์ที่กินจะกินอาหารนั้นได้อย่างสะดวกสบาย ส่วนใหญ่แล้ว ในการผสมอาหารสัตว์มักจะบดอาหารให้ละเอียดเพราะย่อยได้ง่ายแต่ต้องเหมาะสมกับชนิดของสัตว์ด้วย เนื่องจากถ้าละเอียดมากเกินไป สัตว์บางชนิดไม่ชอบกิน และยังอาจก่ออันตราย ต่อระบบทางเดินอาหารของสัตว์อีกด้วย 4.3 สี กลิ่น และรสชาด อาหารที่มีสี กลิ่นและรสชาดแปลก ๆ ในบางครั้งสัตว์ อาจไม่ยอมกิน ต้องฝึกให้สัตว์เคยชินเสียก่อน 4.4 ความฟ่ามหรือความหนาแน่น สุกรและสัตว์ปีกไม่ชอบอาหารที่มีความฟ่ามมาก แต่ในวัวนมหรือสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถใช้ได้ เพราะระบบทางเดินอาหารขนาดใหญ่กว่าและ รับอาหารได้มากกว่า ตลอดจนมีจุลินทรีย์ในกระเพาะช่วยย่อยสารเยื่อใยด้วย
5. ผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิต วัตถุดิบที่ใช้ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิตหรือต่อความนิยมของตลาด เช่น ทำให้ไขมันหรือเนื้อหมูเหลว หรือทำให้สีของไข่แดงผิดปกติ เป็นต้น 6. ความสม่ำเสมอของคุณภาพของอาหาร วัตถุดิบที่ใช้มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพของอาหารสัตว์ มิฉะนั้นจะต้อง ปรับสูตรอาหารอยู่บ่อย ๆ มีผลให้สัตว์ชะงักการกินอาหารได้
ที่มา: http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/animal/lesson5_2.php