เนื้อหมูป่น อีกหนึ่งทางเลือกในการลดต้นทุน


แชร์ให้เพื่อน :

เนื้อหมูป่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเศษเนื้อ เอ็น ผังพืดของหมู แต่ไม่รวมเลือด ขน เขาหนังสัตว์ ซึ่งเป็นเศษเหลือจากการทำผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เมื่อได้มาแล้วจะผ่านการบด การตรวจสอบโลหะตกค้างการปั่นให้ละเอียดและอบฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิสูงและความดัน เมื่อเสร็จแล้วจะมีการแยกโดยการร่อนแยกเศษเนื้อและกระดุกออกจากกัน  ส่วนที่เป็นเนื้อหมูป่น จะมีโปรตีนสูงไม่น้อยกว่า 55% มีกระดูกปนมาน้อย ทำให้มีฟอสฟอรัสต่ำประมาณ 4.4% และมีแคลเซียมอยู่ไม่เกิน 2.2 เท่าของฟอสฟอรัสที่มีอยู่
เนื่องจากเนื้อหมูป่นมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสสูงดังนั้นเมื่อใช้ในสูตรอาหาร ก็จะเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 2 ตัวนี้ สัตว์สามารถนำไปใช้ได้ 100% จึงทำให้เราสามารถลดปริมาณไดแคลเซียมในสูตรอาหารลงได้
เนื้อหมุป่น เหมาะที่จะใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนอื่นๆ เช่น กากถั่วคาโนลา เพราะจะช่วยปรับระดับกรดอะมิโนทริปโตเฟนได้( เนื้อป่นมีระดับทริปโตเฟนต่ำ)
คุณภาพของเนื้อหมูป่นจะด้อยกว่าปลาป่น เนื่องจากมีระดับไลซีนและทริปโตเฟนต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อจะนำไปทำสูตรอาหารต้องมีการปรับเพิ่มกรดทั้ง 2 ตัวนี้ เพื่อความสมดุล
แต่ข้อดีที่เห็นได้ชัดของเนื้อป่นคือ ราคาขายเนื้อหมูป่นจะมีราคาที่ต่ำกว่าปลาป่นที่ระดับโปรตีนเท่ากันอยู่ ราวๆ 20% 

แสดงตัวอย่างการคำนวณราคาวัตถุดิบเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ในการเลือกใช้เนื้อหมูป่นเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งในสูตรอาหารสัตว์

–  ไลซีนราคา กก. ละ  90 บาท
–  เมทไธโอนีน  ราคา กก. ละ  240 บาท
–  ปลาป่น 55% ราคา  กก. ละ  26.5  บาท
–  เนื้อป่น 55% ราคา  21.5  บาท
–  ไดแคลเซียม P 18% กก. ละ 9 บาท
–  ค่ากรดอะมิโนที่ต้องเติม รวม ( 1.512+1.608) = 3.120   บาท
–  ราคาเนื้อป่นถูกกว่าปลาป่น ( 26.5-21.5 ) = 5 บาท
–  ราคาเนื้อป่นเติมกรดอมิโน แล้ว ( 21.5+3.120 ) = 24.62 บาท
–  ราคาเนื้อป่นที่เติมกรดอมิโนแล้วแตกต่างจากปลาป่น ( 26.5-24.62 ) = 1.88 บาท
–  ถ้าใช้แทนปลาป่นในสูตรอาหาร 5 กก. ในอาหาร 100 กก. ลดต้นทุนได้ ( 1.88*5) = 9.4  บาท
–  ถ้าใช้เนื้อป่น  5 กก. จะลดการใช้ แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้  ( 0.63*5 ) = 3.15 บาท
**ดังนั้นหากใช้เนื้อป่น 5 กก. ในสูตรอาหาร 100 กก. จะลดต้นทุนการผลิตลงได้ 12.29 บาทหรือทำให้อาหารถูกลงกิโลกรัมละ ( 12.9/100) = 0.123  บาท/ กก.
ดังนั้น หากผสมอาหาร 1 ตัน จะลดราคาต้นทุนอาหารลงได้  123  บาท / ตัน

 

ตอบข้อสงสัย
–  เรื่องการย่อยได้ของโปรตีน ปัจจุบันด้วยเทคนิคการผลิต ที่ใช้ทั้งความร้อน ความดัน เครี่องมือ ที่ทันสมัย ทำให้การย่อยได้ของโปรตีน ไม่ต่ำกว่า 90%
–  การปนเปื้อนของซัลโมเนนลา ปัจจุบันยุโรป อเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิต มีมาตรการจัดการด้านเชื้อนี้อยู่แล้ว จึงไม่มีการปนเปื้อน

 

ข้อแนะนำ
– เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้   มีใบรับรองคุณภาพ
– ควรปรับสูตรตามโภชนะที่ได้จริง
– เลือกใช้เนื้อหมูป่นที่โปรตีนไม่ต่ำว่า 55% เพราะจะมีการปลอมปนน้อย
– เนื้อหมูป่นมีกรดไขมันสูง เมื่อผสมอาหารแล้ว ไม่ควรเก็บไว้นาน จะเกิดการหืนได้
– ไม่ควรใช้ในสัตว์เล็ก เช่น สุกรเล็กเป็นต้น

 

ที่มา: สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ . จากหนังสือ ฟาร์มโคนม ฉบับที่ 23 ปีที่ 2 มิถุนายน 2543
เรียบเรียงและ ดัดแปลงข้อมูลโดย https://www.gotoknow.org/

แชร์ให้เพื่อน :