จำหน่ายหมูป่น โปรตีนสูง ราคาโรงงาน ซื้อปริมาณมาก มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ
หมูป่น โปร 50,60,70
เนื้อหมูป่น (Porcine meal) , เนื้อและกระดูกหมูป่น (Meat and Bone Meal) ในปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารสัตว์ ในภาพรวมเป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่มีคุณภาพดีและสามารถใช้เป็นอาหารเสริมแร่ธาตุโดยเฉพาะฟอสฟอรัสและแคลเซียม ใช้ทดแทนอาหารอย่างปลาป่นได้ดี โดยทั่วไปการผลิตเนื้อป่นจะหมายถึงเนื้อเยื่อของสัตว์ไม่มีส่วนของกีบ ขน หนัง เศษไขมัน แต่อาจถูกผสมกับเลือดป่น หรือกระดูกป่นบ้างเล็กน้อย ซึ่งปกติจะมีโปรตีนอยู่ช่วง 45-55% แล้วแต่วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต การจำแนกเนื้อและกระดูกป่นออกจากเนื้อป่นจะใช้ระดับฟอสฟอรัส กล่าวคือ เนื้อป่นจะมีปริมาณฟอสฟอรัสไม่เกิน 4.4% หรือในบางครั้งผู้ผลิตจะปรับปริมาณของฟอสฟอรัสให้ได้ตามเงื่อนไขของกฎหมายวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในปัจจุบันประเทศไทยผลิตเนื้อหมูป่น , เนื้อและกระดูกป่นได้น้อยมาก เนื่องด้วยสาเหตุการขาดแคลนแหล่งโปรตีนจากสัตว์ที่มีคุณภาพดี จึงมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาใช้เป็นจำนวนมาก เพราะว่าในต่างประเทศไม่นิยมทานเนื้อหมูและกระดูก
เนื้อหมูพร้อมกระดูกป่น ทำมาจากเนื้อหมูที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่าไม่มีเชื้อโรค salmonella หมูป่น ทำมาจากส่วนประกอบของเนื้อและกระดูกของหมูที่ผู้บริโภคทางต่างประเทศจะไม่นิยมบริโภค ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นแหล่งโปรตีนจากสัตว์ ที่มีคุณภาพดีและสามารถใช้เป็นอาหารเสริมแร่ธาตุได้เพราะมีฟอสฟอรัสและแคลเซียม
- เนื้อหมูป่นและกระดูกป่นเป็นซากสัตว์ที่ไม่ค่อยเหมาะสมที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ จึงนำมาเป็นอาหารสัตว์ อาจเนื่องจากมีพยาธิหรือโรคบางอย่างได้จากการนำเนื้อและกระดูก ไม่รวมขน หนัง เขา กีบ เลือดและเครื่องใน แต่อาจมีเลือดปนลงไปด้วย (ทำให้มีโปรตีนสูงขึ้น) นำซากเหล่านั้นไปนึ่ง (steam) แล้วป่น ภายหลังจึงทำให้แห้ง
- โปรตีนค่อนข้างสูงประมาณ 55 – 60 เปอร์เซ็นต์
- มีระดับธาตุฟอสฟอรัสต่ำกว่า 4.4 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่า เนื้อป่น (meat meal) แต่ถ้ามีเศษเนื้อปนน้อยและมีกระดูกปนมาก เปอร์เซ็นต์โปรตีนจะต่ำกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ ธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่า 4.4 เปอร์เซ็นต์ จัดเป็นเนื้อกระดูกป่น การใช้อุณหภูมิสูงมากจะทำลายคุณค่าของกรดอะมิโนหลายชนิด
- ในอาหารผสมไม่ควรใช้เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นโปรตีนย่อยมาก มีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) สูง ถ้าเป็นเนื้อป่น ชนิดไม่มีเลือดปน ปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 45–55 เปอร์เซ็นต์
- การใช้เป็นอาหารสุกรไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของสูตรอาหาร และอาหารไก่ไม่ควรเกิน 7 – 10 เปอร์เซ็นต์
ประโยชน์ของหมูป่น
* ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายสัตว์
* เหมาะกับเป็นอาหารหลักของหมู ไก่ และสัตว์น้ำต่างๆ
* หมูป่นมีประโยชน์ในการทำเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ต่างๆ
ข้อมูลโภชนะของหมูป่น
หมูป่น โปรตีน 50% | หมูป่น โปรตีน 60% | |
---|---|---|
โปรตีน(Protein) | 50% Min | 60% Min |
ความชื้น(Moisture) | 10% Max | 8% Max |
ไขมัน(Fat) | 15% Max | 4% Max |
เถ้า(Ashes) | 32% Max | 30% Max |
ฟอสฟอรัส | 3% Max | 5.10% Max |
เยื่อใย(Fiber) | 4% Max | - |
แคลเซียม | - | 11.50% |
อะมิโนเอซิด(Aminoacids:) | ||
Lysine | 2.50%-2.80% | 3.13% |
Methionine | 0.60%-0.75% | 0.85% |
Threonine | 1.50%-1.70% | - |
Serine | 1.90%-2.0% | 2.08% |
Pepsic Digestibility (% of protein) | 90 Min | 85% Min |
ขั้นตอนการผลิตเนื้อหมูป่น สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์
1. บด (Crushing) เมื่อวัตถุดิบมาถึงโรงงานจะถูกนำมาบดให้ละเอียดจนได้ชิ้นที่มีขนาด ≤ 50 มิลลิเมตร แล้วเก็บไว้ในถังพักขนาด 10 ตัน
2. ทำให้สุก (Cooking) ขั้นตอนนี้วัตถุดิบที่ผ่านการบดจะถูกทำให้สุกและสเตอริไรซ์ด้วยความร้อนและความดันในหม้อนึ่งในถังขนาดใหญ่ โดยจะมีการใช้อุณหภูมิอยู่ที่ 133 องศาเซลเซียส ความดัน 3 บาร์ เป็นเวลา 20 นาที ซึ่งภายในหม้อนึ่งจะมีการกวนตลอดเวลา เพื่อให้เนื้อป่นที่ได้มีความสุกและฆ่าเชื้อโรคอย่างทั่วถึง ขั้นตอนนี้ความร้อนและอุณหภูมิที่ใช้จะมีความสำคัญมากต่อคุณภาพของเนื้อป่นที่ได้ เมื่อเสร็จขั้นตอนแล้ววัตถุดิบก็จะถูกลำเลียงต่อไปยังถังพัก
3. ทำให้แห้ง (Drying) เนื้อที่ได้ยังมีส่วนประกอบของน้ำอยู่มากจึงจับตัวเป็นก้อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการทำให้แห้งโดยใช้วิธีการลำเลียงบนสายพานร้อน (Disc Dryers) เพื่อระเหยน้ำออกไป จนความชื้นเหลืออยู่ไม่เกิน 6%
4. แยกไขมัน (Separate fat) หลังจากระเหยน้ำออกโดยผ่านสายพานแล้ว เนื้อที่ได้จะมีลักษณะกายภาพเป็นแผ่น ซึ่งจะถูกลำเลียงไปสู่กระบวนการแยกไขมัน โดยวิธีสครูเพลส (Screw Press) ซึ่งจะทำให้สะอาดแล้วเก็บไว้ในถังพักเพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่วนเนื้อป่นที่ถูกบีบไขมันออกไปแล้วจะถูกนำมาบดและร่อนเอากระดูกบางส่วนออก ลำเลียงเก็บไว้ในถังพัก เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการบรรจุถุงและจำหน่ายต่อไป
ในแต่ละขั้นตอนการผลิตที่กล่าวมาข้างต้น ทุกขั้นตอนจะมีการเฝ้าระวังตรวจสอบให้ได้มาตรฐานการผลิตโดยนักวิชาการผู้ชำนาญให้ได้เนื้อหมูป่น , เนื้อหมูและกระดูกหมูป่นที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์อย่างหมู ไก่ สัตว์น้ำ เป็นต้น

กระดูกหมูส่วนประกอบในการทำเนื้อหมูป่น
ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.cksiam.esy.es/news.php?lng=th