จำหน่ายกระถินป่น ราคาโรงงาน ซื้อปริมาณมาก มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ
ช่วยลดต้นทุนราคาอาหารสัตว์
ในสมัยก่อนการเลี้ยงหมูหรือวัวหรือสัตว์หลายชนิด เราจะใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติมาทำเป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงของเรา เช่นใช้ใบกล้วย ต้นกล้วย หรือใบกระถินเป็นอาหารสัตว์ ใบกระถินนั้นนิยมใช้เป็นอาหารสัตว์มาเป็นเวลานานแล้ว เพราะหาได้ง่ายตามท้องถิ่น มีสารอาหารที่เหมาะสม แต่ก็ต้องใช้ในสัดส่วนที่เมาะสมด้วย เพราะอาจจะมีสารหรือเยื่อใยมากเกินไป ในปัจจุบันเรามีกระถินป่น คือใบกระถินที่ได้จากการปลูกแล้วนำมาป่น เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารหลักให้สัตว์และลดต้นทุนราคาอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างมาก ด้วยราคาที่ไม่แพงมากนัก และให้สารอาหารที่จำเป็นพอสมควรกับสัตว์ได้ กระถินป่นจึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ใบกระถินป่น
ใบกระถินป่น (Leucaena leaf meal)
เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้มากชนิดหนึ่ง นอกจากอหารหลักอย่างกากถั่วเหลือง ปลาป่น หรือข้าวโพดบด เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้วเกษตรกรยังสามารถ ผลิตได้เองอีกด้วย ปลูกง่ายและแปรรุปได้ง่าย คุณภาพของใบกระถินป่นที่มีขายในท้องตลาด จะมีค่าของโปรตีนแตกต่างกันมากตั้งแต่ 14-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนของก้านใบและกิ่งปะปนมากน้อยแค่ไหน
คุณสมบัติ
- ใบกระถินล้วนๆ แห้งป่นมีโปรตีนสูงประมาณ 20-24 เปอร์เซ็นต์
- มีเยื่อใยสูงเหมาะสำหรับสัตว์ที่ต้องการใยอาหาร
- มีสารพิษที่เรียกว่าไมโมซีน ที่เป็นพิษต่อสัตว์ ถ้าใช้ในระดับสูงจะทำให้สัตว์โตช้า ขนร่วงและความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ เพราะฉะนั้นควรมีความรุ้ในการใช้และจำกัดการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
- มีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของไวตามินเอ และสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารให้สีสำหรับไข่แดงและเนื้อสัตว์
ข้อจำกัดในการใช้
- เยื่อใยสูง ทำให้ใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์ได้ในระดับต่ำ
- มีสารพิษไมโมซีน ที่เป็นพิษต่อสัตว์ ถ้าใช้ในระดับสูงจะทำให้สัตว์โตช้า ขนร่วงและความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ
- ให้พลังงานต่ำ จะต้องใช้ร่วมกับวัตถุดิบที่ให้พลังงานสูง เช่นกากถั่วเหลืองหรือข้าวโพดบด
ข้อแนะนำในการใช้
- ไม่ควรใช้ใบกระถินสดเลี้ยงสุกร และสัตว์ปีก ควรนำไปผ่านกรรมวิธีลดสารพิษก่อน การนำใบกระถินไปตากแดดให้แห้ง เป็นการลดสารพิษไมโมซีนได้
- ควรใช้ใบกระถินยักษ์ เพราะมีสารพิษไมโมซีนต่ำกว่าใบกระถินพื้นเมือง ทำให้ใช้ได้ในระดับสูงกว่าใบกระถินพื้นเมือง
- ใบกระถินแห้งหรือผึ่งแดดจะช่วยลดปริมาณสารพิษลงได้
- ใบกระถินแช่น้ำนาน 24 ชั่วโมง และผึ่งแดดให้แห้งช่วยลดปริมาณสารพิษได้ดีและสามารถ ใช้ในสูตรอาหารได้ในระดับสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน
- ควรเลือกใช้ใบกระถินแห้งป่นที่มีสีเขียวและมีก้านใบปนน้อยที่สุด ในการประกอบสูตรอาหาร
- โดยทั่วไปไม่ควรใช้ใบกระถินป่นในสูตรอาหารสัตว์เล็ก และไม่ควรใช้ในระดับเกิน 4-5 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกและจะต้องระวังในการปรับระดับพลังงานในสูตรอาหาร ให้เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ด้วย
กระถินป่น
กระถิน ( Leucaena )
กระถิน (Leucaena) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leucaena leucocephala(lamk.)de Wit อยู่ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อสามัญว่า White Popinac,Lead Tree,Leucaena ชื่ออื่นๆที่เรียกตามแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ภาคกลาง เรียกว่า กระถินบ้าน กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก กะเส็ดโคก กะเส็ดบก, ภาคใต้ เรียกว่า สะตอเทศ สะตอเบา สะตอบ้าน สะตอตั๊กแตน , ภาคเหนือ เรียกว่าผักหนองบก ผักก้านถิน , ภาคอีสาน เรียกว่าผักก้านถิน ผักกะเส็ด ฯลฯ กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึงประมาณ 10 เมตร กระถินทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี และการเจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด สรรพคุณทางยา ดอก รสมัน บำรุงตับ ราก รสจืดเฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว และเป็นยาอายุวัฒนะ เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม กระถินเป็นพืชอาหารสัตว์ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของกระถินนั้นมีมากมาย ใบกระถินใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด เช่น ใช้เป็นวัตถุดิบผสมในอาหารข้น ทั้งอาหารไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคเนื้อ โคนม ใบกระถินสดใช้เลี้ยงโคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ แกะ ได้ไม่มีข้อจำกัด ใบกระถินนำมาตากแห้งใส่กระสอบเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งได้
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปลูกกระถินเพื่อทำใบกระถินแห้งและผลิตใบกระถินป่น ปีละประมาณ 60,000 ตัน โดยมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ในหลายจังหวัดในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางบางส่วน ในขณะเดียวกันจังหวัดนครราชสีมาก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ผลิตใบกระถินแห้งและกระถินป่นส่งจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และโรงงานผสมอาหารสัตว์ โดยเฉพาะฟาร์มเกษตรกรโคนมในพื้นที่ ซึ่งมีฟาร์มเกษตรกรโคนมเป็นจำนวนมากที่มีความต้องการการนำใช้ทั้งกระถินแห้งและกระถินป่นมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ให้ผลิตน้ำนมสูงและมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ เนื่องจากในใบกระถินมีโปรตีนสูง มีเยื่อใยต่ำ ที่สำคัญมีราคาค่อนข้างถูก ช่วยประหยัดต้นทุนอาหารสัตว์เป็นอย่างมาก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://nutrition.dld.go.th/exhibision/feed_stuff/leucaena_leaf_meal.htm
https://www.gotoknow.org/posts/243003