GoodThaiFeed

GoodThaiFeed

จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทุกชนิด

Menu
  • Home
  • กากถั่วเหลือง
    • กากถั่วเหลือง เกรดทำปุ๋ย
  • ข้าวโพดบด
  • ดีดีจีเอส
  • ปลาป่น
  • หมูป่น
  • ไก่ป่น
  • สินค้าของเรา
    • กากเมล็ดในปาล์ม
    • ต้นดาวเรือง พร้อมดอก
    • ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (Fullfat Soy)
    • น้ำนึ่งปลา
    • รำข้าวสาลี
    • รำละเอียด (Rice bran)
    • รำสกัดน้ำมัน รำสกัด กากรำ
    • เนื้อวัวป่น
    • เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
    • เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
    • เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม TLG 5803 F1 สีทอง
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม ออเรนจ์ 4809
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม ออเรนจ์ 9509
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมดีฟโกลด์ 5012
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมออเรนจ์ 4802
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมเยลโลว์ 4805
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมโกลด์ 4803
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมโกลด์ 5011
    • ใบกระถินป่น
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
    • ขอใบเสนอราคา
    • บริการจัดส่ง
    • ผลงานการส่งวัตถุดิบ อาหารสัตว์ให้กับลูกค้า
    • เกี่ยวกับเรา


mfg

กากเมล็ดในปาล์ม

ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน สำหรับอาหารสัตว์

 ปาล์มเป็นพืชน้ำมันที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย  

โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ซึ่งมีพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะสม  สำหรับส่วนของปาล์มที่นำมาผลิตน้ำมันนั้นได้มาจากส่วนของผลปาล์ม  ซึ่งมีส่วนที่ให้น้ำมันอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนเนื้อของผลปาล์ม  เป็นส่วนเปลือกที่ห่อหุ้มกะลาเนื้อสีเหลือง มีเส้นใยของปาล์มเป็นจำนวนมาก  

และ อีกส่วนหนึ่งที่ให้น้ำมันเช่นกันคือเนื้อในของเมล็ด (เนื้อสีขาว) ที่อยู่ในกะลา

 ดังนั้นการผลิตน้ำมันปาล์มจึงมีทั้งการสกัดน้ำมันจากปาล์มทั้งผลและจากเนื้อในปาล์ม สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม และนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ มีดังนี้

1.น้ำมันปาล์ม
2.กากปาล์มรวม

3.กากปาล์มเนื้อใน 

 

น้ำมันปาล์ม

        น้ำมันปาล์มที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์นั้นสกัดน้ำมันมาจากผลปาล์มสด ซึ่งเป็นส่วนของเนื้อสีเหลืองที่ห่อหุ้มกะลาปาล์ม  น้ำมันที่ได้จากเนื้อส่วนนี้เรียกว่าน้ำมันปาล์มดิบ (Crude oil)  

เป็นน้ำมันที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เหมือนน้ำมันบริโภคที่มีจำหน่ายทั่วไป    ส่วนน้ำมันที่ได้จากเนื้อในปาล์มจะนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่ หรือนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล 

 

การใช้น้ำมันปาล์มในอาหารสัตว์

        ปัจจุบันน้ำมันปาล์มได้นำมาใช้ในอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ โดยใช้เป็นแหล่งของไขมันและพลังงาน และมีราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ  แต่การใช้น้ำมันปาล์มในอาหารสัตว์ควรคำนึงถึงข้อจำกัดในการใช้ด้วย เนื่องจากน้ำมันปาล์มมีกรดไขมันลิโนเลอิค (กรดไขมันจำเป็น) ในปริมาณไม่มาก และมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่สูง อาจมีผลต่อการเกิดไขมันในซากแข็งได้ หากไม่มีการปรับสูตรอาหารอย่างถูกต้อง  อย่างไรก็ตามการใช้น้ำมันปาล์มก็ยังคงได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในอาหารสัตว์ โดยให้พิจารณาเลือกใช้ในสัตว์ที่มีอายุมากขึ้น  

 

 

กากปาล์มรวม

        กากปาล์มรวมเป็นกากที่ได้จากการสกัดน้ำมันจากผลปาล์มซึ่งเนื้อปาล์มส่วนนี้มีเส้นใยปาล์มเป็นจำนวนมาก ดังนั้นกากปาล์มรวมที่ได้นี้จึงมีเยื่อใยอยู่ในระดับสูง

  • การใช้กากปาล์มรวมในอาหารสัตว์
            กากปาล์มรวมที่ได้จากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันปาล์มนั้น มีโปรตีน 6-7 เปอร์เซ็นต์ ไขมันผันแปร 7-15 เปอร์เซ็นต์ และมีเยื่อใยสูงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ในสูตรอาหารสัตว์โดยเฉพาะใน

สัตว์กระเพาะเดี่ยวที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเยื่อใยในวัตถุดิบได้

        ดังนั้นกากปาล์มรวมจึงเหมาะสำหรับใช้ในอาหารโค–กระบือ แพะ แกะ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเยื่อใยได้ดี นอกจากนี้กากปาล์มรวมยังมีกลิ่นหอมน่ากิน เนื่องจากยังมีน้ำมันหลงเหลือในกากปาล์มในระดับสูง  อย่างไรก็ตามการนำกากปาล์มรวมเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารสำหรับโคต้องคำนึงถึงยอดโภชนะที่ย่อยได้ด้วย หากใช้ในสูตรอาหารระดับสูงอาหารที่ได้อาจมียอดโภชนะย่อยได้ไม่เพียงพอ 

กากปาล์มรวม

 

กากปาล์มเนื้อใน

        กากปาล์มเนื้อใน เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันในส่วนของเนื้อในปาล์ม โดยโรงงานผู้ผลิตจะนำเมล็ดปาล์ม (รวมส่วนของกะลา) มาบีบอัดน้ำมัน  แต่บางโรงงานก็มีการนำเมล็ดปาล์มมากระเทาะเปลือกออกก่อนที่จะนำเข้าสู่การสกัดน้ำมัน  ดังนั้นกากปาล์มเนื้อในที่ได้นี้จึงมีคุณค่าทางโภชนะที่

แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตของแต่ละโรงงาน สำหรับกากปาล์มเนื้อในที่ใช้กันในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์นั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ

 1) กากปาล์มเนื้อในอัดน้ำมัน และ 2) กากปาล์มเนื้อในสกัดน้ำมัน

 

การใช้กากปาล์ม (เนื้อใน) ในอาหารสัตว์

        กากปาล์มเนื้อในชนิดอัดน้ำมันมีโปรตีน 12-13 เปอร์เซ็นต์   ไขมัน 12-14 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคุณภาพของกากปาล์มชนิดนี้ขึ้นกับปริมาณกะลาที่ติดปนมา สำหรับคุณค่าทางโภชนะของกากปาล์มเนื้อในจะเห็นว่ามีโปรตีนและไขมันใกล้เคียงกับรำละเอียด และมีกลิ่นหอมน่ากิน  สามารถนำมาใช้ทดแทนรำละเอียดได้  แต่ข้อควรระวังคือน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในกากปาล์มเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่าในน้ำมันรำหรือน้ำมันถั่วเหลือง   ส่งผลให้ไขมันในซากอาจแข็งได้ การใช้กากปาล์มเนื้อในจึงควรมีการพิจารณาระดับการใช้และช่วงอายุสัตว์ที่จะนำไปใช้ด้วย

        จากคุณค่าทางโภชนะพบว่ากากปาล์มชนิดนี้มีเยื่อใยสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์  ควรใช้ในระดับไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ในสัตว์กระเพาะเดี่ยว (สุกร สัตว์ปีก สัตว์น้ำ) หรือในบางสูตรอาหารอาจต้องมีระดับการใช้น้อยกว่านี้
ส่วนในสัตว์กระเพาะรวม (โค-กระบือ) ใช้ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร  ปัจจุบันอาจพบกากปาล์มอัดน้ำมันที่มีไขมันน้อยกว่า 12-14 เปอร์เซ็นต์ได้  เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นของที่มีมูลค่า ทำให้ผู้ที่รับซื้อกากปาล์มอัดน้ำมันจากโรงงานลงทุนนำกากปาล์มมาอัดน้ำมันอีกครั้ง  กากปาล์มชนิดนี้จึงมีไขมันน้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์  (โดยทั่วไปมีไขมันประมาณ 8เปอร์เซ็นต์)  และความหอมของกากปาล์มก็จะลดลงด้วยเช่นกัน  อย่างไรก็ตามกากปาล์มดังกล่าวนี้ก็จะมีโปรตีนสูงขึ้น โดยมีโปรตีนประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์

        ส่วนกากปาล์มเนื้อในชนิดสกัดน้ำมันมีไขมันหลงเหลืออยู่น้อยมากประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่มีโปรตีนสูงถึง 16-18 เปอร์เซ็นต์ การนำไปใช้ในอาหารสัตว์ใช้เช่นเดียวกับกากปาล์มเนื้อในชนิดอัดน้ำมัน  แต่มีข้อระวังในเรื่องของความฟ่ามทำให้อาหารไม่น่ากินหากมีการใช้ในระดับสูง

นอกจากนั้น กากปาล์มเนื้อในสกัดน้ำมัน น้ำมันยังมีธาตุอาหาร และกรดอะมิโนต่างๆ อีกมากมายที่มีความสำคัญและมีความสมดุล ยกตัวอย่างเช่น มีความสมดุลระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่าในกากเมล็ดพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ (สุธา และเสาวนิต, 2544; McDonald et al.,1981) จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปผสมในวัตถุดิบอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น แพะ โค (สมพงษ์, 2526) สุกร (ยุทธนาและสมเกียรติ, 2532) ไก่ (วินัยและคณะ, 2526; สุธา และเสาวนิต, 2544) และสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลานิล ปลานิลแดงแปลงเพศ และปลาดุก (วุฒิพร และคณะ;2546; Keong, 2003)วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตอาหารปลา หรืออาหารสัตว์น้ำ มีจำนวนน้อยกว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์บก เช่น เป็ด ไก่ และหมู เป็นต้น

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

สมิต ยิ้มมงคล. มปป. การผลิตอาหารข้นสำหรับโคให้มีคุณภาพดีและราคาถูก. เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร เทคนิคการผลิตอาหารโค และการให้อาหารโค ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม

อุทัย คันโธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งช่าติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม

วราพันธุ์ จินตณวิชญ์ (นักวิชาการสัตวบาล)
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

mfg



เพิ่มเพื่อน

เราเป็นศูนย์จำหน่ายปลาป่น โปร55-6, หมูป่น (หมูป่น โปร50, หมูป่นโปร60, หมูป่นโปร70) ไก่ป่น (ไก่ป่น โปร50, ไก่ป่น โปร60, ไก่ป่นโปร70) น้ำนึ่งปลา ผลพลอยได้จากการผลิตปลาทูน่า ,กากถั่วเหลือง 49.97 ,กากข้าวโพด คุณภาพเยี่ยมราคาโรงงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line@ : @dpr0829p หรือท่านสามารถคลิก แอดไลน์ตรงนี้ เพื่อสั่งสินค้าหรือสอบถามได้เลยครับ !!!

Tags

DDGS กากข้าวโพด กากถั่ว กากถั่วเหลือง การประกอบสูตรอาหารสัตว์ การปลูกดาวเรือง การเก็บรักษาปลาป่น การเลือกซื้อปลาป่น การเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ การเลือกอาหารสัตว์ ขายพันธุ์ดาวเรือง ข้าวโพดบด ข้าวโพดป่น ดอกดาวเรือง ดาวเรืองตัดดอก ดาวเรืองประดับ ดาวเรืองวดีริน ถั่วเหลืองป่น น้ำนึ่งปลา น้ำนึ่งปลาโปรตีนเข้มข้น ปลาป่น ปลาป่นอาหารสัตว์ ปลาป่นเกรดดี ปลูกดาวเรือง ผิวถั่ว พันธุ์ดาวเรือง ฟาร์มหมู ราคากากถั่วเหลือง ราคาปลาป่น รำละเอียด วิธีปลูกดาวเรือง สินค้าปลาป่น สูตรอาหารสัตว์ที่ดี อาหารสัตว์ อาหารหมู อาหารเป็ด อาหารเป็ดไข่ อาหารเป็ดไข่สำเร็จรูป อาหารไก่ อาหารไก่ไข่ เมล็ดดาวเรือง เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง เม็ดดาวเรือง โปรตีนจากปลา ไก่ป่น
  • Home
  • กากถั่วเหลือง
    • กากถั่วเหลือง เกรดทำปุ๋ย
  • ข้าวโพดบด
  • ดีดีจีเอส
  • ปลาป่น
  • หมูป่น
  • ไก่ป่น
  • สินค้าของเรา
    • กากเมล็ดในปาล์ม
    • ต้นดาวเรือง พร้อมดอก
    • ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (Fullfat Soy)
    • น้ำนึ่งปลา
    • รำข้าวสาลี
    • รำละเอียด (Rice bran)
    • รำสกัดน้ำมัน รำสกัด กากรำ
    • เนื้อวัวป่น
    • เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
    • เมล็ดพันธุ์ดาวเรือง
    • เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม TLG 5803 F1 สีทอง
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม ออเรนจ์ 4809
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิม ออเรนจ์ 9509
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมดีฟโกลด์ 5012
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมออเรนจ์ 4802
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมเยลโลว์ 4805
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมโกลด์ 4803
      • พันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมโกลด์ 5011
    • ใบกระถินป่น
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
    • ขอใบเสนอราคา
    • บริการจัดส่ง
    • ผลงานการส่งวัตถุดิบ อาหารสัตว์ให้กับลูกค้า
    • เกี่ยวกับเรา

GoodThaiFeed 2023 | Powered by WordPress.